สรุปบบทที่ 3 และแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

สรุปบทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

แนวคิดเชิงระบบ(systems Approach)
              การใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซท์ แสดงถึงการปฏิวัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวงการธุรกิจ จากการคิดค้นของบริษัทวิจัยการตลาดของ  NFO  โดยใช้เครื่องมืออำหน่วยความสะดวกในการสนทนาบนอินเทอร์เน็ตของ  TalkCity   ซึ่งจะเห็นได้ว่า   เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการทำงานของกลุ่มเป้าหมายออนไลน์  ช่วยในการพฒันาสินค้า  ช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆ

กำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ไข (Defining Problems Opportunities)
               ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบปัญหา สามารถให้คำจำจัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไขคือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สัญณานบอกเหตุ หมายถึง ปัญหาสำคัญที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงแต่มีแนวโน้มว่าจะเกิด

การคิดอย่างระบบ(Systems Thinking)
                การคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าใจปัญหาและโอกาสในการแก้ไขที่ดีที่สุด ปีเตอร์ เซนก์ นักเขียน และที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ เรียกการคิดอย่างเป็นระบบว่าเป็น กฎข้อที่ เซนก์ กล่าวว่า การจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฎข้ออื่นๆ ได้แก่การควบคุมตนเอง การไม่อคติและไม่ท้อแท้ การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกันการเรียนรู้เป็นทีมงาน

การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆ(Developing Alternative Solutins)
                 มีแนวทางในการแก้ปัญหาหลายวิธี อย่าใช้วิธีแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียวหลังจากที่กำหนดปัญหาอย่างเร่งรีบเพราะมันจะจำกัดทางเลือกของคุณและขโมยโอกาสในการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของทางเลือกอื่นๆ และคุณยังเสียโอกาสในการรวบรวมข้อดีของแต่ละแนวทางอีกด้วย

ประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอื่น(Evaluating Alternative Solutions )
                  เมื่อทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้ถูกพัฒนาขึ้น ให้ประเมินหาข้อสรุปหาวิธีทางในทางแก้ไขปัญหาใดที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจและความต้องการของบุคลากรมากที่สุด ความต้องการเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จำเป็นต่อความสำเร็จทั้งด้านบุ๕ลากรและธุรกิจ

การเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด(Select the Best Solution)
                  เมื่อประเมินแนวทางในการแก้ไขปัญหา คุณสามารถเริ่มกระบวนการการคัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถประเมินเปรียบเทียบจากหลักเกณฑ์เดียวกัน เช่น สองทางเลือกสามารถตรวจสอบและให้คะแนน เพื่อเลือกและปฎิเสธโดยขึ้นอยู่กับเกณฑ์ในแต่ละหัวข้อหรือคะแนนโดยรวม

การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง(Design and Implementing a solution)
                    แผนการนำไปประยุกต์ใช้ที่กำหนดแหล่งข้อมูล กิจกรรม และระยะเวลาสำหรับขั้นตอนการนำไปใช้ที่เหมาะสม ดังนั้นการออกแบรายละเอียดและแผนการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับระบบการส่งเสริมการขายด้วยคอมพิวเตอร์ ควรประกอบด้วยประเภทและแหล่งของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ที่ต้องจัดหาสำหรับพนักงานขาย 
ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่ 

การฝึกอบรมพนักงานอื่นๆ 
การปรับระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ และกำหนดตารางเวลาในการนำไปใช้จริง 

การใช้แนวคิดเชิงระบบ(Postimplementation Review)
              ขั้นตอนสุดท้ายของแนวคิดเชิงระบบ คือ การตระหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้อาจล้มเหลวได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอาจมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ผลที่ได้จากการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ครวถูกจับตามองและประเมิน เรียกขั้นตอนนี้ว่ากระบวนการทบทวนหลังการนำไปใช้ เป้าหมายคือการหาข้อสรุปของการนำไปใช้จริงที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์

การใช้แนวคิดเชิงระบบ(Using the systems Approach)
               ลองนำแนวคิดเชิงระบบมาประยุกต์สู่แนวทางแก้ไขปัญหากับบริษัทที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในโลกธุรกิจอ่านกรณีศึกษาและร่วมกันวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน
Auto Shack Stores:การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ(Solving a Business Problem)
               Auto Shack Stores เป็นสาขาของร้านขายชิ้นส่วนรถยนต์และประดับยนต์ในรัฐอริโซนา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฟินิกซ์ มี 14 สาขาในระยะเวลา 10 ปี พบปัญหาอัตราการเติบโตของยอดขายตกลงเมื่อเทียบกับที่คาดหการณ์ไว้ ผลประกอบการที่ได้เมื่อต้นปี 1998 ชี้ให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของการขายตกลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้เพิ่มสาขาอีก แห่งในปี1997 ก็ตาม
               ทีมของผู้จัดการร้านและนักวิเคราะห์ระบบจากฝ่ายบริการสารสนเทศได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ POS เพื่อวางแผนระบบการขายใหม่บนพื้นฐานการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้โดยสำรวจกระบวนการขายของพนักงานขายแต่ละราย สัมภาษณ์ผู้จัดการ พนักงานขาย และพนักงานแผนกอื่นๆ

การกำหนดปัญหา(Defining the Problem)
มีสัญณานบอกเหตุถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับ Auto Shack ในอนาคต คือ สัญณานบอกเหตุด้านผลปฏิบัติการด้านการขาย 
สัญณานบอกเหตุด้านการทำงานของพนักงาน สัญณานบอกเหตุด้านการจัดการ 

ความชัดเจนของปัญหา(Statement of Problem)
              ผู้จัดการ พนักงานขาย และลูกค้าได้รับสารสนเทศด้านสินค้าและบริการไม่ดีเท่าที่ครวผลปฏิบัติงานด้านการขายในหน่วยงานเกิดความเสียหายจากกระบวนการขายที่ลดลง จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพยายามหาข้อมูล ทำให้ลดเวลาในด้านบริหาร ด้วยเหตุนี้ คุณภาพของการตัดสินใจด้านการตลาดและผลงานด้านการขายของบริษัทจึงยังคงมีปัญหาอยู่เช่นเดิม

ความชัดเจนของความต้องการทางธุรกิจ(Statement of Business Requirements)
             ระบบ POS คือกำหนดฐานงานเป็นไปได้ในการสนับสนุนบทบาทของระบบสาระสนเทศ แผนการนี้ยังได้กำหนดความต้องการด้านอื่นๆเพื่อให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่
การประเมินของแนวทางการแก้ไขปัญหา(Evaluation of Solution 1 )
ประเมินแนวทางแก้ไขปัญหาแบบที่ 1 (Evaluation of Solution 1 )
ข้อได้เปรียบ(Advantages)
     ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการอบรมพนักงานใหม่ต่ำ 
    สะดวกและมีคู่มือที่ง่ายแก่การใช้ของพนักงานขาย 
    การเพิ่มยอดขายขึ้นอยู่กับพนักงานขายของพนักงานแต่ละคนข้อมูลที่ผู้จัดการได้รับจะนำไปสู่การใช้ในการบริหาร 

ข้อเสียเปรียบ(Disadvantages)
    ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 
    กระบวนการในการขายใช้เวลาสำหรับ
     พนักงานขายแต่ละราย 
    ข้อมูลด้านการขายไม่เป็นปัจจุบัน 
   ไม่สามารถใช้ได้กับระบบการตลาดที่ทันสมัย 
    ไม่สามารถใช้ได้กับแผนขององค์กรที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อลดค่าใช้จ่าย 

หลักการสำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาที่เลือก(Rationale for the Select Solutions)
         Auto Shack store ครวพัฒนาระบบสารสนเทศการขายแบบ POS ซึ่งจะทำให้กระบวนการขายของพนักงานสะดวกรวดเร็วขึ้นและช่วยผู้จัดการให้ได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการได้ทันท่วงที

Millipore Corporation: วิเคราะห์ความต้องการเว็บไซท์
               Milliporeเป็นบริษัทที่ไม่ต้องการใช้วิธีการหาคำตอบด้วยการเดาความต้องการส่วนประกอบและการใช้งานต่างๆที่จะเพิ่มในเว็บไซท์ของบริษัทผู้จัดการด้านสื่อสารองค์กร สำนักงานใหญ่ที่จะสอบถามความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

แนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศ(Developing Is Solution)
              ในทุกวันนี้การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยการพฒันาระบบข้อมูล เป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจมืออาชีพ และในฐานะผู้ใช้ คุณสามารถรับผิดชอบสำหรับการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเดิมสำหรับบริษัทของคุณ

วงจรการพัฒนาระบบ(Systems Development cycle)
            การใช้แนวคิดเชิงระบบเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีหลายขั้นตอนที่เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ

การเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบ(Starting the Systems Development Process)          

            การดำเนินธุรกิจมีปัญหา(หรือมีโอกาส)ไหมอะไรเป็นต้นเหตุของปัญหานั้น การสร้างหรือปรับปรุงระบบจะช่วยแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ อะไรที่ระบบสารสนเทศจะช่วยแก้ไขปัญหา

การศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Studies)
           การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาขั้นต้นเพื่อสืบค้นหาความต้องการของสาระสนเทศในมุมมองของผู้ใช้และหาข้อสรุปของแหล่งข้อมูลที่ต้องการ ราคา ผลประโยชน์ที่จะได้รับและความเป็นไปได้ของโครงการ

 การวิเคราะห์ระบบ(Systems Analysis)   การวิเคราะห์ระบบเมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการพัฒนาระบบงานใหม่อย่างรวดเร็วหรือเกี่ยวข้องกับโครงการระยะยาว

การวิเคราะห์องค์กร(Organizational Analysis)  กาวิเคราะห์องค์กร เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการวิเคราะห์ระบบ จะปรับปรุงระบบสารสนเทศได้อย่างไรหากไม่รู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่จะทำการวิเคราะห์ระบบ

การวิเคราะห์ระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(Analysis of the Present Systems)
          สิ่งสำคัญที่จะต้องศึกษา คือ ระบบเดิมที่จะปรับปรุงหรือถูกแทนที่วิเคราะห์การใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ เครือข่าย และบุคลากร เพื่อจะทำการถ่ายโอนข้อมูลเดิม

การวิเคราะห์ความต้องการในการใช้งาน(Functional Requiremeents Analysis)        ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นส่วนที่ยากที่สุด คุณอาจต้องทำงานเป็นทีมกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้อื่นๆเพื่อหาข้อสรุปในความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจง

การออกแบบระบบ(Systems Desing)

             การวิเคราะห์ระบบ แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ระบบควรทำ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

การกำหนดรายละเอียดของระบบ(System Specifications)
            การกำหนดรายละเอียดของระบบ โดยทั่วไปหมายถึง วิธีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของระบบงาน

การสร้างต้นแบบ(Prototyping)
            การสร้างต้นแบบ เป็นพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลองหรือต้นแบบของระบบงานใหม่

การใช้งานระบบสารสนเทศใหม่(Implementation a New Information System)
         เมื่อระบบสารสนเทศใหม่ได้ถูกออกแบบแล้วก็จะนำไปใช้งานจริงแสดงให้เห็นขั้นตอนการนำระบบใหม่ไปใช้

การบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ(Maintenance of Information Systems)        การบำรุงรักษาระบบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรการพัฒนาระบบเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ประเมิน และปรับเปลี่ยนระบบเพื่อให้เป็นตามที่ต้องการ

คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมระบบ(Computer-Aided Systems Engineering:CASE)         คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมระบบ หรือคอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซอฟแวร์สำเร็จที่เรียกว่า เคสทูลเพื่อจัดการกับงานของวงจรการพัฒนาระบบ

การใช้เคสทูล(Using CASE Tools)

            ความสำคัญของเคสทูลที่เป็นเครื่องมือช่วยในงานส่วนหน้าของวงจรการพัฒนาระบบและงานส่วนหลังของการพัฒนาระบบ

การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้(End User Development)
          สามารถสร้างแนวทางใหม่หรือปรับปรุงระบบงาเดิมโดยปราศจากความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศได้การเน้นเรื่องภารกิจระบบสารสนเทศ(Focus on Activities)    การพัฒนาผู้ใช้ควรจะมุ่งเน้นเรื่องพื่นฐานของระบบสารสนเทศ
แหล่งที่มา : โดยนางสาวเบญจมาศ  ภูมิสูง

***********************************************************

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1. นักศึกษาสามารถใช้แนวคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาด ทางด้านการเงิน ทางด้านทรัพยากรมนุษย์หรือไม่ จงอธิบาย
ตอบ ใช้ เพราะ เป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนที่สามรถใช้เป็นหลักการได้กับปัญหาทุกปัญหา เราสามารถแยกขั้นตอนต่างๆได้ดังนี้
         - การแยกแยะและทำความเข้าใจ
         - การพัฒนาวิธีการแก้ปัญหา
         - เลือกวิธีกรที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
         - ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกใช้
         - นำวิธีการที่ออกแบบไปใช้ในการแก้ปัญหาและประเมินถึงผลที่ได้

           
2. ทำไมนักศึกษาจึงคิดว่า การจัดทำต้นแบบ (Prototyping) จึงกลายมาเป็นที่นิยมในการพัฒนาระบบใหม่ทางธุรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นพื้นฐาน
ตอบ   การสร้างต้นแบบ เป็นพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลอง (Model) หรือต้นแบบของระบบงานใหม่ ในการโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่า การวนรอบ (Interactive หรือ Iterative) โดยนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ การทำต้นแบบสามารถทำให้กระบวนการพัฒนาเร็วและง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ความต้องการของผู้ใช้นั้นยากแก่การเข้าใจอย่างชัดเจน


3. ให้นักศึกษาอธิบายว่า ปัจจุบันมีการนำการจัดทำต้นแบบเข้ามาแทนที่ หรือมาเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ตอบ  การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบงานขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิม ต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดความต้องการจากผู้ใช้
นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ การทำต้นแบบขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาระบบสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจ


5. มีซอฟต์แวร์ประยุกต์อะไรบ้าง ที่ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต เว็บไซท์
ตอบ     1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
             2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
             3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
             4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
             5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิ

แหล่งที่มา : วิชุดา ศิริ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 6 ระบบสารสนเทศสำหรับการปฎิบัติงานทางธุรกิจ

สรุปสิ่งที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน

บทที่ 4 การจัดการฐานข้อมูล